วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ไว้อาลัยแด่ พ.ต.อ.อัยยรัช กมลรัตนา



ขอแสดงความไว้อาลัยและแสดงความเสียใจต่อการจากไปของ พ.ต.อ.อัยยรัช กมลรัตนา ผู้กำกับ สภ.บ้านธิ จ.ลำพูน

สำหรับ พตอ.อัยยรัช กมลรัตนา นั้นเป็น นักเรียนพลตำรวจรุ่น นพต 26 ต่อมาได้ศึกษาต่อและไปสอบนักเรียนนายร้อยและได้รับเลื่อนชั้นยศเรื่อยมา จนได้มาเป็นผู้กำกับ สภ.บ้านธิ จ.ลำพูน และยังเป็นนักดูพระสะสมพระเครื่องทางภาคเหนือ จนเป็นที่โด่งดัง ดูพระรอดรู้ทันทีว่ารุ่นไหน แท้ไม่แท้ จนวงการเซียนพระยกให้เป็นระดับปรจารย์ เซียนพระทางภาคเหนือ โดยมีพระเครื่องทางภาคเหนือของแท้ราคาแพงหลายองค์ และท่านเคยสร้างพระรอดมหาวันย้อนยุคปลุกเสกที่วัดพระสิงห์ และวัดมหาวันอีกด้วย

สาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากโรคประจำตัวทำให้หมดสติระหว่างขับรถจนเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา โดยจากการตรวจสอบที่เกิดเหตุพบว่าตามร่างกายไม่มีบาดแผลแต่อย่างใด และรถยนต์ของผู้กำกับนั้นไม่มีรอยเบรครถเลย จึงทำให้ไปชนรถคันหน้าอย่างรุนแรงชนท้ายกัน 3 คันรวด 

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ชี้ตำหนิพระรอดพิมพ์ใหญ่ การพิจารณาพระแท้พระเก๊


หลักการดูพระรอดนั้นหลายคนก็อาจจะเคยอ่านและศึกษาตามหนังสือ หรือดูวีดีโอคลิ้ปตามสื่อต่างๆมาบ้างแล้ว การศึกษาพระรอดนั้นตำราหลายเล่มก็เขียนเหมือนกันหมด คือพระฤาษีเป็นผู้สร้างตามที่ปรากฏอยู่ในตำราหลายๆเล่ม เรียกชื่อพระตามนามพระฤาษีผู้สร้างคือพระฤาษี “นารอด” นั่นเอง ประวัติที่มาคงอ่านกันมาเยอะแล้ว เอาแค่น้ำจิ้มนะครับถ้าเขียนแบบเต็มรูปแบบจริงผู้อ่านอาจเบื่อเพราะเป็นเนื้อหาเดิมๆที่มีผู้รู้หลายท่านได้เขียนไปแล้ว ซึ่งก็มีการพิจารณาพระยังมีส่วนของตำราปัจจุบันมีพระกุเอาเองก็เยอะ บ้างก็เอาพระเก๊ในตลาดพระมาชี้ตำหนิบ้าง พระแท้กลายเป็นพระเก๊ไปเลย บางตำราเขียนออกมาขั้นเทพเขียนตำราเชียร์พระที่ทำใหม่บ้าง สารพัดการยกเมฆอ้างโน่นอ้างนี่ก็ว่ากันไป การอ่านตำราก็ให้พิจารณาด้วยครับ

บางคนหาพระรอดมาหลายปีก็ไม่เจอพระรอดแท้ๆสักองค์ ในพระกรุสกุลลำพูนยังมีความลับอีกมากมาย ส่วนแนวทางการสะสมนั้น ก็แล้วแต่ท่านใดจะชอบ ชอบแบบไหนก็หาแบบนั้นครับ เช่าแบบที่ชอบ แต่ถ้าอยากศึกษาแบบล้วงตับ เข้าถึงเพื่อสะสมของแท้ ตามมาอ่านเลยครับ

การแบ่งยุคสมัยของพระรอดนั้น ยังไม่มีการแบ่งยุคสมัยที่ชัดเจนแต่ก็น่าจะมีการสร้างอยู่หลายวาระ และจำนวนการสร้างก็สร้างตามคติพระธรรมขันธ์(84,000พระธรรมขันธ์) เพื่อสืบทอดพระศาสนาโดยการบรรจุไว้ในเจดีย์บ้าง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์บ้างก็ว่ากันไป  มีการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดมหาหาวัน เจ้าหน้าที่ ที่ทำทะเบียนวัตถุโบราณในตอนนั้น ท่านเล่าให้ผมฟังว่าขุดค้นค้นพบพระรอดหลายพันองค์ ไม่ได้มีจำนวนน้อยอย่างที่เซียนพระเขาว่ากันนะครับ คิดง่ายๆพระคงยังมีเยอะแยะแล้วพระรอดที่สร้างในยุคเดียวกันจะมีน้อยได้อย่างไร? 

การกำหนดยุคและอายุพระนั้นยิ่งเป็นไปได้ยาก เพราะว่าจะใช้ตรรกะแบบไหนมากำหนด มีหลายคำถามที่หลายคนสอบถามผม เช่น สกุลช่างจะเอาตรรกะไหนมากำหนด เช่นว่า พระองค์นี้ช่างหลวงทำแม่พิมพ์ และ พระองค์นี้ช่างราษฎร์ทำแม่พิมพ์ ขอตอบเลยว่าเกิดไม่ทัน และก็ไม่บังอาจที่จะฟันธง หลักการพิสูจน์ยังไม่ตอบโจทย์  สงสัยว่าต้องนั่งทางไหนแล้วมะโนเอา เพราะพระรอดรูปทรงและพิมพ์ทรงจะไม่ต่างกันมากนักรู้แค่รับอิทธิพลศิลปะปาละจากอินเดียมาก็คงเพียงพอแล้วครับ

บทความนี้จะแนะนำการดูพระรอดพิมพ์ใหญ่ พระรอดพิมพ์ใหญ่นั้นดูไม่ยากอันดับแรกพิจารณาพิมพ์ทรงก่อน หลังจากนั้นก็ค่อยมาดูความเก่า ดูธรรมชาติขององค์พระ ในส่วนของตำหนิต่างๆก็อาจหายหรือลางเลือนไปบ้าง เพราะพระรอดเป็นพระกรุเก่าอายุเป็นพันกว่าปี จะให้สมบูรณ์สวยงามนั้นคงมีน้อยมาก โดยเฉพาะพระที่อยู่ในหม้อดิน หรือไห จะมีสมบูรณ์มากกว่าส่วนที่อยู่ในดิน (กรณีหม้อแตก) พระก็อาจจะสึกหรอไม่สมบูรณ์เพราะเจอความชื้นในหน้าฝน ความชื้นในพื้นดิน ก็ว่ากันไปตามภาวะของธรรมชาติ ส่วนพระรอดพิมพ์พิเศษนั้นยังไม่มีการค้นพบทางโบราณคดี ซึ่งก็มีให้เห็นวางขายตามตลาดนัดพระทั่วไป ราาคาคุณค่าก็ว่ากันตามพุทธศิลป์และขนาดขององค์พระ ชอบแบบไหนก็ว่ากันไป



ในตำราการพิจารณาพระรอดนั้นมีตำราเก่าแก่โบราณน่าเชื่อถืออยู่หลายเล่ม ซึ่งลักษณะของพระก็ไม่แตกต่างกันนัก พระดินเผาทำจากมือก็มีบ้างที่จะไม่เหมือนกัน 100% เช่นขอบปีกขององค์พระ รอยจากการการกดด้านหลังขององค์พระ การนำพระออกจากแม่พิมพ์อาจมีเขยื้อนบ้าง รอยงัดที่ก้นขององค์พระ เป็นต้น สรุปได้จากการดูความเป็นธรรมชาติของอายุพันกว่าปี ความเก่า

พระรอดในสนามพระ

พระรอดเก๊เป็นอย่างไร? ดูตรงไหน

พระรอดเก๊ เกลื่อนตลาดพระ พระเก๊หรือพระฝีมีทำได้ไกล้เคียงของจริงมากแค่ไหน ขอตอบในบทความนี้เลยว่าทำได้ไกล้เคียงมาก แต่ที่ทำไม่ได้คือความเก่า แต่สุดท้ายก็มาวัดกันที่ธรรมชาติขององค์พระ คราบเป็นอย่างไรเป็นคราบโป๊ะมาหรือว่าทำสีมาหรือเปล่า ผิวของพระตึงหรือเหี่ยวย่น และอีกหลายๆปัจจัย

พระรอด OTOP 

พระรอดลำพูนนั้นมีหลากหลายรูปแบบถ้าท่านใดเคยเดินตามสนามพระก็จะรู้ดีว่า การพัฒนาของกลุ่มทำพระเลียนแบบ ซึ่งก็ถือว่าทำกันเป็นอาชีพกันเลยทีเดียว การทำพระพิมพ์ดินเผานั้น สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่นเป็นอาชีพประจำตระกูลเลยก็ว่าได้

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การพิสูจน์ ดิน หิน เรซิ่น

เนื่องจากมีการกล่าวถึงกันเรื่องของปลอมกันมาก เช่นพระปลอม เนื่องจากเป็นความจริงที่มีของปลอมเข้ามามากจริงๆ บทความนี้จึงต้องการพิสูจน์ว่าเป็น ดิน หิน หรือว่า เรซิ่นกันแน่ มาทดสอบกันเลย

อุปกรณ์ประกอบการทดลอง ถ้ามีเตาไฟฟ้า หรือเตาแก้ส สบายเลย เผาได้เลย น้ำมันก๊าด ไฟแช้คพร้อมภาชะรองรับชิ้นงาน หลังจากนั้นทำการเผาและก็เผา

จากการทดลองเผาด้วยน้ำมันก๊าดจนแห้งและไฟมอดไปเอง ทั้งหมดใช้เวลาทั้งสิ้น 4 นาที 25 วินาที จะเกิดอะไรขึ้นภายใต้ความร้อนกว่า 150° เซลเซียส ผลหลังจากการเผาภายใต้ความร้อนกว่า 150° เซลเซียส สภาพดำเป็นตอตะโก ไม่เหลือความงามเดิมเลย จากนั้นเราก็นำแช่น้ำทันที ก็มีคราบเขม่าอยู่บ้าง แต่ไม่มีการแตกร้าวใดๆให้เห็น ยังคงสวย เห็นความเป็นดินผงหินอย่างชัดเจน ไม่มีสภาพการแตกร้าวให้เห็นแต่อย่างใด ถ้าเป็นวัสดุอย่างอื่นรับรองเปลี่ยนรูปแบบอย่างแน่นอน

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ขายเทียนเมตตาบารมี เศรษฐีเรือนคำ




เทียนเมตตาบารมี  เทียนเศรษฐีเรือนคำ
ใช้ขี้ผึ้งแท้บริสุทธิ์จากตำราโป่งเทียน ครูบาเจ้าศรีวิไชย นักบุญแห่งล้านนา พุทธคุณเมตตาบารมี แก้ปีชง เสริมดวง เสริมเสน่ห์ เมตตามหานิยม ผู้ใหญ่อุปถัมภ์ค้ำชู จุดบูชาเวลาที่ชะตาไม่ค่อยดี มีแต่เรื่องปวดหัวรวมทั้งเจ็บไข้ได้ป่วย

เทียนเศรษฐีเรือนคำ  เสริมบารมี ค้าขายร่ำรวย เจริญก้าวหน้า  เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง อยู่ดีมีสุขจุดเทียนได้ตลอด เดือนหนึ่ง สักครั้ง สองครั้ง หรือยามที่ต้องการบุญเกื้อหนุน  หรือยามที่หมดหวัง ท้อแท้ใจ  ไม่สบายใจ  แสงแห่งเทียน บุญบารมีของครูบาเจ้าจะปกปักรักษาและคุ้มครองเรา


คำเตือน ควรจุดเทียนในที่โล่งกว้าง อย่าลืมเขียนชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิดเริ่มจากปลายเทียนลงไป

ราคาคู่ละ 250 บาท

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

พระรอดยอ้นยุค 1300 ปี


เปิดจองแล้วนะครับ พระรอดย้อนยุค พิธีการสร้างและเผาแบบโบราณ พิธีใหญ่ สร้างพียง 84000 องค์เท่านั้น พระรอดย้อนยุค 1300 ปี แม่แบบเป็นพระรอดมหาวันพิมพ์ใหญ่ เครื่องราชฯ ดีกรี ชนะเลิศรางวัลที่ ๑ ที่งานประกวดพระเครื่องฯ ที่คุรุสภา ปี ๒๕๕๑ และได้รับเกียรติโชว์ในงานสยามมิวเซี่ยม พระราชวังท่าเตียน กรุงเทพมหานคร ปี ๒๕๕๔ 


มวลสารในการสร้างพระรอด
  • ชิ้นส่วนพระรอดที่หักชำรุด บริจาคโดย อ. อัครเดช กฤษณดิลก 
  • เศษชิ้นส่วนวัตถุโบราณที่ขุดได้ที่วัดมหาวันและวัดจามเทวี
  • มวลสารศักดิ์สิทธิ์ ของครูบาอินทร วัดสันป่ายางหลวง จ.ลำพูน อธิฐานจิตมอบให้

อธิฐานจิตมวลสารการสร้าง
อธิฐานจิตมวลสารในการสร้างโดยพระคณาจารย์โดยมี พระราชปัญญาโมลี เจ้าคณะจังหวัดลำพูน ,พระเทพโกศล ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค๗,พระเทพปริยัติ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่,พระเทพมังคลาจารย์ รองคณะจังหวัดเชียงใหม่,พระครูพิศาลธรรมนิเทศน์ เจ้าอาวาสวัดมหาวัน จ.ลำพูน, ครูบาอินทร วัดสันป่ายางหลวง จ.ลำพูน,พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญญวิเวก จ.เชียงใหม่

ครูบาแสงหล้า วัดพระธาตุสายเมืองท่าขี้เหล็ก พม่า, พระอาจารย์ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่,ครูบาเทือง วัดบ้านเด่น แม่แตง จ.เชียงใหม่, ครูบาธรรม วัดพระบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน, ครูบาน้อย วัดศีดอนมูล สารภี จ.เชียงใหม่, พระครูบูรยากรวิโรจน์ เจ้าอาวาสวัดพันเตา, พระครูสุนทร ขันติรัตน์ วัดศรีเกิด จ.เชียงใหม่, พระศรีธรรมโสภณ เจ้าคณะอำเภอเวียงหนองล่อง จ.ลำพูน, ครูบากฤษดา สุเมโธ วัดสันพระเจ้าแดง, ครูบาสามแสง พระธาตุสายเมืองสิบสองปันนา พร้อมทั้งพิธีขออนุญาตในการจัดสร้างที่อนุสารีย์พระแม่จามเทวี ที่วัดจามเทวี 


ท่านสามารถโทรสอบถามรายละเอียดการสั่งจองได้เลยครับ






ประธานที่ปรึกษาการจัดสร้าง
 พล.ต.ท. ธนิตศักดิ์ ธีระสวัสดิ์. ผบช.ภ.๕. พลอากาศตรี เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน คณะผู้ดาเนินการจัดสร้าง พลอากาศตรี เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน ประธานจัดสร้าง อ. อัครเดช กฤษณดิลก รองประธานจัดสร้าง พ.ต.อ.อัยยรัช กมลรัตนา ผกก.สภอ.บ้านธิ / เลขา




สถานที่ปลุกเสก
วันที่  11 เมษายน 2559 เวลา 16.30 น. ณ. วัดพระสิงห์ ฯ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ประธานที่ปรึกษา พล.ต.ท. ธนิตศักดิ์ ธีระสวัสดิ์ ผบช.ภ.5, พล.อ.ต.เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน ประธานดำเนินการ,อ.อรรคเดช กฤษณะดิลก ,พ.ต.อ. อัยยรัช กมลรัตนา ผกก.สภ.บ้านธิ เลขาฯ ร่วมพิธี


คลิ้ปปลุกเสกพระรอดที่อุโบสถวัดมหาวัน




วันที่ 15  เมษายน 2559 เวลา 19.09 น. ณ. วัดมหาวัน อ.เมือง จ.ลำพูน โดยมี พระเทพปัญญาโมรี เจ้าคณะจังหวัดลำพูนเป็นองค์ประธาน นำโดย พล.อ.ต.เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน,พ.ต.อ.อัยยรัช กมลรัตนา ผกก.สภ.บ้านธิ,อ.อรรคเดช กฤษณะดิลก ร่วมพิธิ


สถานที่อธิฐานจิตมวลสารในการสร้าง วัดพันเตา อ.เมือง จ. เชียงใหม่


"ฤกษ์ เป็น ศรี อธิฐานจิตปลุกเสก ปี ๒๕๕๙ เริ่มปลุกเสก วันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๙ ใครทำการใดปีนี้ก็เจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้า การงาน โชคลาภ เงินทองพันเท่าทวีคูณ ตามเคล็ดวัดพันเตา แคล้วคลาด ปลอดภัย คงกระพันชาตรี"

วัตถุประสงค์ในการสร้าง
  • บูรณะวัดสำคัญ ๔ มุมเมืองของจังหวัดลำพูน และพระธาตุดอยงุ้ม ต.ห้วยยาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน
  • บูรณะซ่อมแซมพิพิธภัณฑ์พระรอดมหาวัน จ.ลำพูน
  • จัดทำหนังสือประวัติศาสตร์เมืองลำพูน
  • สนับสนุนกองทุนผู้สูงวัยชุมชนมหาวัน